กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553

ตอบ ข้อ 4.
พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสงของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงาน
แสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น
ตอบ  ข้อ 3.


ตอบ  ข้อ 2.
การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศจะส่งผลให้รังสีอัตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ส่งผ่านมายังโลกได้มากขึ้น รังสีอัตราไวโอเล็ตชนิด UV- C มีพลังงานมากที่สุดและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมบนโลก เช่น ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งเรตินาเกิดต้อกระจก ระบบภูมิคุ้มกันและสารพันธุกรรมถูกทำลาย พืชเจริญเติบโตช้าลง วัสดุต่างๆ ที่ทำจากสารสังเคราะห์จะแตกหักเสียหายง่าย สีซีดจางลง

ตอบ  ข้อ 4.
ไวรัสทั่วไปตามธรรมชาติจำเป็นต้องเข้าไปเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น โดยยีนของไวรัสและยีนของเซลล์ที่เพาะเลี้ยงไวรัสต้องมีกลไกสอดคล้องต้องกัน ไวรัสจะสามารถเจริญแพร่พันธุ์ไวรัสใหม่ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และชนิดของไวรัส ดังนั้น แต่ละชนิดของไวรัสจึงทำให้เกิดโรคเฉพาะมนุษย์ สัตว์ แมลง พืช สาหร่ายสีน้ำเงิน รา หรือบัคเตรีต่าง ๆ กัน
ตอบ  ข้อ 1.
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
 1. ผนังเซลล์ (Cell Wall )
2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) 
 3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)
4. นิวเคลียส (Nucleus)
ตอบ  ข้อ 1.
Hypotonic solution (ไฮโปโทนิก โซลูชั่น) เป็นสารละลายความเข้มข้นต่ำ (น้ำมาก)
เมื่อนำเซลล์ไปแช่ในสารละลายนั้น ซึ่งภายในเซลล์มีความเข้มข้นสูงกว่า (น้ำน้อย)

และเมื่อนำหลักการของออสโมซิสจากที่กล่าวข้างบน ก็คือน้ำจะออสโมซิสจาก
สารละลายภายนอกเซลล์ก็คือ ไฮโปโทนิก นั่นละ ไปยัง ภายในเซลล์ เพราะว่า
มันแพร่จากน้ำมาก ไปยัง น้ำน้อย พอน้ำเข้าเซลล์ก็ทำให้เซลล์เต่งขึ้น
และในเซลล์สัตว์เนื่องจากมันไม่มี cell wall (ผนังเซลล์) หากน้ำออสโมซิสเข้าไปมาก
ก็อาจทำให้เกิดเซลล์แตก ส่วนในเซลล์พืชจะไม่มีทางเกิดเซลล์แตกเพราะว่ามันมี cell wall
((วิธีจำ : ไฮโป >> โต ก็คือ สารละลายไฮโปโทนิกทำให้เซลล์ที่แช่โตหรือเต่ง
ตอบ  ข้อ 3.
กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุง รูปร่างคล้ายตัวเจ ปกติกระเพาะอาหารที่ไม่มีอาหารจะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสามารถขยายตัวเมื่อมีอาหารได้อีก 10 - 40 เท่าอาหารผ่านไปตามหลอดอาหาร แล้วผ่านไปตามทางเดินอาหารโดยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ หลอดอาหารจะคืนสู่สภาพปกติเมื่อก้อนอาหารผ่านพ้นไปแล้วการหดตัวและคลายตัว เรียกว่าเพอริสตัลซิล (peristalsis)ผนังกระเพาะ มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมากและยืดหยุ่นขยายขนาดจุ ได้ถึงประมาณ1000 - 1200 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ  ข้อ 1.
การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงการที่มีโปรตีนมากกว่าปกติในปัสสาวะอาจเป็น เครื่องบ่งชี้ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรคที่มีพยาธิสภาพภายในไต ไตอักเสบเรื้อรังและเฉียบพลัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ การสัมผัสสารโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท แคดเมียม มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อไต มีผลทำให้โปรตีนออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก โรคเบาหวานที่เริ่มมีโรคแทรกซ้อน การตั้งครรภ์ระยะท้ายๆ มีไข้
ตอบ  ข้อ 4.
สัตว์ที่อาศัยในทะเล เช่น ปลาทะเล มีความเข้มข้นของเกลือแร่ในเลือดต่ำกว่าท้องทะเล
คือ มีแรงดันออสโมติกในร่างกายต่ำกว่าน้ำทะเล จึงมีการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงกัน

ข้ามกับปลาน้ำจืด เกลือแร่จึงแพร่ผ่านเข้าออกร่างกายตลอดเวลา จึงทำให้ปลาสูญเสียน้ำออก
จากร่างกาย ดังนั้นปลาในทะเล จึงมีการปรับตัวและกลไกต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้

ตอบ  ข้อ 3.
แวคิวโอล (vacuole) คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์
(tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ
ตอบ  ข้อ 1.
เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น สมองส่วนไฮโพทาลามัสถูกกระตุ้น ทำให้ลดเมทาบอลิซึมที่เป็นการเผาผลาญอาหารเพื่อทำให้เกิดความร้อนและหลอดเลือดขยายตัวเพื่อทำลายความร้อนออกจากร่างกาย

ตอบ  ข้อ 3.
เมื่อทารกที่สุขภาพแข็งแรงได้แนบสนิทเนื้อแนบเนื้อกับทรวงอกและหน้าท้องของมารดาทันทีเมื่อแรกคลอด อกอุ่นของแม่จะช่วยกระตุ้นให้ทารก มีความตื่นตัว  สามารถคืบคลาน เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสัมผัสอันอ่อนโยนของมารดา ได้อิงแอบแนบอุทร และเอื้อมมือไขว่คว้าเต้านมของเธอ13  ทารกเริ่มสัมผัสและนวดเฟ้นเต้านม  สัมผัสอันอ่อนโยนจากศีรษะและมือของทารกกระตุ้นการหลั่งสาร ออกซิโตซิน9 ในมารดา น้ำนมจึงเริ่มหลั่งไหลและความรักความผูกพันที่มีต่อลูกก็ยิ่งเพิ่มทวี  หลังจากสูดดม อ้าปากงับและเลียหัวนมของแม่แล้ว ทารกก็จะเกาะกุมเต้านมและเริ่มดูดดื่มน้ำนมเพื่อยังชีพ  กระบวนการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของลูกมนุษย์


ตอบ  ข้อ 2.
วัคซีน (อังกฤษ: Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ตอบ  ข้อ 3.
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ( meiosis) การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งเกิดในวัยเจริญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต โดยพบในอัณฑะ ( testes), รังไข่ ( ovary), และเป็นการแบ่ง เพื่อสร้างสปอร์ ( spore) ในพืช ซึ่งพบในอับละอองเรณู ( pollen sac) และอับสปอร์ ( sporangium) หรือโคน ( cone) หรือในออวุล ( ovule)
มีการลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก 2n เป็น n ซึ่งเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยให้จำนวนชุดโครโมโซมคงที่ ในแต่ละสปีชีส์ ไม่ว่าจะเป็นโครโมโซม ในรุ่นพ่อ - แม่ หรือรุ่นลูก - หลานก็ตาม
ตอบ  ข้อ 4.
กรดนิวคลีอิก ( Nucleic acid)แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆคือ
1. DNA ( deoxyribonucleic acid ) เป็นสารพันธุกรรมเป็นพอลิเมอร์ของดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ (deoxyribonucleotide ) ซึ่งต่อเชื่อมกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ แต่ละนิวคลีโอไทด์ (nucleotide)
ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส (2-deoxyribose) หมู่ฟอสเฟตและเบสไนโตรเจน ( nitrogenous base) DNA พบในนิวเคลียสและไมโตคอนเดรียของเซลล์
2. RNA (ribonucleic acid )เป็นพอลิเมอร์ของไรโบนิวคลีโอไทด์ (ribonucle0tide)แต่ละนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วย น้ำตาลไรโบส ( ribose ) หมู่ฟอสเฟตและเบสไนโตรเจน RNA ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมจาก DNA นำมาสร้างเป็นโปรตีนและเอนไซม์ RNA ส่วนใหญ่พบในไซโมพลาสซึมของเซลล์

ตอบ  ข้อ 3.
ในเพดดีกรี สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมแทนเพศชาย และวงกลมแทนเพศหญิง ส่วนสีดำทึบหมายถึงคนเป็นโลก ส่วนสีขาวหมายถึงปกติ
ตอบ  ข้อ 3.
อัตราเสี่ยงหรือโอกาสของลูกที่จะเกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะของโรค หรือเป็นปกติในแต่ละครอบครัวจะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์ บางครอบครัวที่พ่อและแม่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ ทั้งคู่มีลูก 7 คนเป็นโรคเพียงคนเดียว แต่บางครอบครัวมีลูก 3 คน เป็นโรคทั้ง 3 คน ขึ้นอยู่ว่าลูกที่เกิดมาในแต่ละครรภ์จะรับยีนธาลัสซีเมียไปจากพ่อและแม่หรือไม่ ทั้งๆ ที่อัตราเสี่ยงทั้ง 2 ครอบครัวนี้เท่ากันและทุกครรภ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมีย เท่ากับ 1 ใน 4

ตอบ  ข้อ 1.
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนออโทโซม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติถูกควบคุมโดยยีนด้อย เมื่อดูจากภายนอกทั้งพ่อและแม่มีลักษณะปกติ แต่มียีนด้อยแฝงอยู่ เรียกว่าเป็นพาหะ (carrier) ของลักษณะที่ผิดปกติ

ตอบ  ข้อ 1.
กล่าวโดยสรุปเป็นเพราะพันธุกรรมตาบอดสีจึงพบในเพศหญิงน้อยกว่าเพศชายประมาน 16 เท่า ประมาณ 0.4 % ประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมดจะพบ 10 % ของประชากรและเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณ 5 % ของประชากรตาบอดสีอีกกลุ่มหนึ่งคือตาบอดสีที่เป็นภายหลัง มักเกิดจากโรคจอประสาทหรือโรคของเส้นตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่นและอาจเสียเพียงเล็กน้อยคือดูสีที่ควรจะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติหรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้ การที่พบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบแดง-เขียวแทบทั้งหมด

ตอบ  ข้อ 3.
หมู่เลือด A + A= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
หมู่เลือด AB + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด O + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
หมู่เลือด A + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือดใดก็ได้ ได้ทุกหมู่
หมู่เลือด A + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด B + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด AB + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ B
หมู่เลือด A + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น