วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 17 - 21 มกราคม 2554

ข้อ 32.
ตอบ ข้อ 2 การเกิดหินงอก หินย้อย การเผากระดาษ
ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้น

ข้อ 33.
ตอบ ข้อ 4 ก ข ค และ ง
ปฏิกิริยาโลหะหรืออโลหะกับแก๊สออกซิเจน เมื่อนำธาตุโลหะ เช่น โซเดียม (Na) หรือแมกนีเซียม (Mg) ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน จะทำให้เกิดเปลวไฟสว่างและเกิดสารประกอบ ออกไซด์ของโลหะ ส่วนธาตุอโลหะ เช่น คาร์บอน (C) เมื่อทำปฏิกิริยา กับแก๊สออกซิเจนจะทำให้เกิดเปลวไฟสว่างและเกิดสารประกอบออกไซด์ของอโลหะ
ตัวอย่างสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาการรวมตัวของธาตุกับแก๊สออกซิเจน ซึ่งทำให้เกิดเป็นสารประกอบออกไซด์ เช่น

ข้อ 34.
ตอบ ข้อ 4 มีกรดกำมะถันและกรดไนตริกปนอยู่
น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการชุมชนที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหลายๆ หลังคาเรือน ย่านการค้าหรืออาคารที่ทำการ ล้วนจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้สอยในจุดประสงค์อื่นๆ น้ำที่ใช้นี้จะมีปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นปริมาณส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำทิ้งออกมา น้ำทิ้งนี้ส่วนมากจะเป็นน้ำจากส้วมและจากการชำระซักล้าง ซึ่งประกอบไปด้วยสารอินทรีย์สบู่ ผงซักฟอก เศษอาหาร ไขมัน สารอนินทรีย์และสิ่งปฏิกูลอื่นๆ เจือปนอยู่ สารเหล่านี้เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง จะเกิดผลเสียสองประการใหญ่ๆ คือ ประการแรกช่วยเพิ่มอาหารเสริมแก่พืชน้ำและสัตว์น้ำ ทำให้มีพืชน้ำและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเมื่อพืชน้ำและสัตว์น้ำตายไป จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ในน้ำเพิ่มขึ้น สารอินทรีย์ที่มีจากน้ำทิ้งและที่เกิดเพิ่มขึ้นนี้ ถ้ามีจำนวนมากเมื่อถูกย่อยสลายโดยแอโรบิคบัคเตรีที่มีอยู่ในน้ำ ก็จะนำเอาออกซิเจนละลายในน้ำมาใช้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ออกซิเจนในอากาศละลายลงในน้ำ ทำให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนขึ้น อันเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะกับแอนแอโรบิคบัคเตรีให้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อไป ทำให้น้ำกลายเป็นสีดำมีกลิ่นเหม็น ส่วนสารอื่นๆ ที่ปนมา เช่น สารอนินทรีย์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งไม่ได้มาตรฐานและเสียประโยชน์ใช้สอยไป นอกจากนี้ถ้าน้ำทิ้งมีเชื้อโรคชนิดต่างๆ ที่เป็นอันตราย เช่นบัคเตรี และ ไวรัส ก็จะทำให้เกิดโรคได้

ข้อ 35.
ตอบ ข้อ 1 ก และ ข
อนุภาคมูลฐาน (อังกฤษ: Elementary Particle) คืออนุภาคเป็นหน่วยย่อยที่สุดในทางทฤษฎีฟิสิกส์ เราไม่ถือว่ามันประกอบขึ้นมาจากสิ่งใดอีก อนุภาคมูลฐานที่เรารู้จักกันดีที่สุดคือ อิเล็กตรอน ซึ่งไม่สามารถแยกย่อยเป็นอนุภาคใดๆได้อีกในทฤษฎีแบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) แบ่งอนุภาคมูลฐาน เป็นสองพวกคือ เฟอร์มิออน เป็นอนุภาคที่ประกอบกันเป็นสสารได้แก่ ควาร์ก (quarks) และเลปตอน (leptrons) อีกพวกเป็นอนุภาคที่นำแรงหรืออนุภาคโบซอน (bosons)อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่จัดอยู่ในกลุ่มของเลปตอน

ข้อ 36.
ตอบ ข้อ 2 2,8,8,1
อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับ
พลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q
หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7

ข้อ 37.
ตอบ ข้อ 3 จำนวนอิเล็กตรอนของระดับพลังงานที่สองของธาตุ a b และ c เท่ากัน
ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2 เมื่อ n = เลขชั้น
เลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7

ตัวอย่าง จำนวน e- ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 12 = 2x1 = 2
จำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 42 = 2x16 = 32

ข้อ 38.
ตอบ ข้อ 3 b อยู่เป็นอะตอมเดียวอย่างอิสระได้
อะตอม (กรีก: άτομον; อังกฤษ: Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มเมฆของอิเล็กตรอนประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยส่วนประสมระหว่างโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมหนึ่งๆ ที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่าๆ กันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวกหรือลบก็ได้ เรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกคุณสมบัติทางเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกความเป็นไอโซโทป

ข้อ 39.
ตอบ ข้อ 2 x เป็นธาตุในหมู่ 2a
Oxygen ออกซิเจนจากที่เราได้ทราบกันดีว่าออกซิเจน Oxygen เป็นส่วนสำคัญในการดำรงษ์ชีวิตของมนุษย์และสัตว์ และมีส่วนประกอบในอากาศ Air มากเป็นอันดับสองรองจากไนโตรเจน Nitrogen ซึ่งออกซิเจน Oxygen จะมีระดับความเข้มข้มในอากาศที่ 20.9% และไนโตรเจน nitrogen ที่ 78% คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของออกซิเจน Oxygen ในสถานะปกติออกซิเจน Oxygen เป็นก๊าซ Gas ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่มีรส หนักกว่าอากาศเล็กน้อยและละลายน้ำได้เล็กน้อย ความหนาแน่นของออกซิเจน คือ 1.43 g/litter ความหนาแน่นของอากาศ Air คือ 1.29 g/litter เมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง ออกซิเจน Oxygen จะกลายเป็นของเหลว สีฟ้าอ่อน ที่ -182.5 องศาเซลเซียล และถ้าลดอุณหภูมิลงอีก จะกลายเป็นของแข็ง สีฟ้าอ่อน มีจุดเยือกแข็งที่ -218.4องศาเซลเซียล คุณสมบัติทางเคมีของออกซิเจน Oxygen เป็นธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ ปานกลางในอุณหภูมิปกติ และจะมีปฏิกิริยามากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ออกซิเจน Oxygen สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ เกือบทั้งหมด ให้สารประกอบเรียกว่า Oxides ปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจน Oxygen กับสารอื่นเราเรียกว่าออกซิเดชั่น (oxidation)

ข้อ 40.
ตอบ ข้อ 3 o
ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษ: radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้
1.รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
2.ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
3.พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
4.เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น